ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว (Extreme Weather Events) อาทิเช่น ฝนตกหนัก น้ำท่วม ภัยแล้ง ไฟป่า การทรุดตัวของดิน พายุ อากาศร้อนจัด เป็นต้น ได้เพิ่มความรุนแรงและความถี่ในการเกิดขึ้นสูงกว่าเดิมในรอบหลายทศวรรษ ภัยพิบัติเหล่านี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นชนวนสำคัญในการทำให้ภัยพิบัติเหล่านี้รุนแรงมากยิ่งขึ้น
เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วนั้นไม่ได้เกิดแค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หากแต่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลก
เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วนั้นไม่ได้เกิดแค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หากแต่เกิดขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย เหตุการณ์ที่ได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิเช่น ภัยแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้เกษตรกรและประชาชนขาดแคลนน้ำและแหล่งอาหาร ทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย อุณหภูมิร้อนจัดในหลายจังหวัดยังส่งผลเสี่ยงต่อชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะแรงงานที่ทำงานกลางแจ้งเช่น เกษตรกร กรรมกร เป็นต้น และพายุโซนร้อนปาบึกในปี 2562 ซึ่งทำให้ประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชกว่า 30,000 คนต้องอพยพออกจากพื้นที่ เป็นต้น
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการทรุดตัวของหน้าดิน รวมทั้งกิจกรรมของมนุษย์ มีแนวโน้มจะทำให้ระดับน้ำท่วมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงขึ้น
นอกจากนี้ รายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ยังได้ระบุว่าผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการทรุดตัวของหน้าดิน รวมทั้งกิจกรรมของมนุษย์ มีแนวโน้มจะทำให้ระดับน้ำท่วมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงขึ้นอีกด้วย เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิตทั้งในด้านสุขภาพและสาธารณสุข เศรษฐกิจ การคมนาคม และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
มาร่วมบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในชุมชนผ่านสื่อหนังสั้น เพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักต่อวิกฤตครั้งนี้ ส่งผลงานและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ccclfilmfestival.com/submit
ที่มา
Chatuchinda, S. (2019, February 6). โลกร้อนก่อภัยพิบัติไปทั่วโลก. Greenpeace Thailand. www.greenpeace.org/thailand/story/1739/extreme-weather-event-around-the-world
Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). (n.d.). IPCC Sixth Assessment Report Working Group 1: The Physical Science Basis. www.ipcc.ch/report/ar6/wg1/resources/factsheets
นิตยสาร เนชั่นแนล จีโอราฟฟิก ฉบับภาษาไทย. (2021, August 17). ไทยพร้อมรับมือ ภาวะลมฟ้าอากาศสุดขั้ว ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกแล้วหรือไม่. https://ngthai.com/environment/37635/thaiextremeweather
Photo by Jo-Anne McArthur on Unsplash
Comments