CCCL ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โครงการ American Film Showcase (AFS) และมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ จัดค่ายให้เยาวชนและคนทำหนังเข้าร่วมพัฒนาไอเดีย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับคนทำหนังและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมนำเสนอโปรเจกต์ภาพยนตร์สั้นประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ชายฝั่งและอ่าวไทย ชิงทุนผลิตภาพยนตร์สั้น ระหว่างวันที่ 2-4 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยหลังจากจบกิจกรรมนำเสนอโปรเจกต์ กรรมการได้ตัดสินให้โปรเจกต์ภาพยนตร์สั้นจำนวน 2 เรื่อง ได้รับทุนสนับสนุนผลิตภาพยนตร์เรื่องละ 30,000 บาท ได้แก่ ภาพเปลี่ยนโลก (SHUTTER SPEED) โดย คุณปภาวรินท์ สังข์แก้ว และคุณกันตพงศ์ เกิดทิพย์ และ นา(ปลง) (SHINE MEMORIA) โดย คุณจิรัฏฐ์ เลิศเศรษฐพันธุ์ และคุณสหภัทน์ ศุกรสมิต
Opening Night & Film Screening
ในคืนแรกของกิจกรรมเวิร์กช็อปพาโนรามาครั้งนี้ ทาง CCCL ได้รับเกียรติจากคุณมาริสสา วิทเท่น ผู้ประสานงานฝ่ายการทูตสาธารณะ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ขึ้นกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 10 ทีม ก่อนจะเริ่มฉายสารคดีเรื่อง THE HUMAN ELEMENT พร้อมสนทนาหลังฉายกับคุณแมทธิว เทสตา ผู้กำกับภาพยนตร์
Site Visit
ในกิจกรรมลงพื้นที่ เราได้วิทยากรครูแดง เกรียงศักดิ์ ฤกษ์งามนำล่องเรือชมหลักกิโลเมตรที่ 28 ของเขตกรุงเทพฯ ที่แต่ก่อนเคยอยู่บนดิน แต่ปัจจุบันถูกยกสูงขึ้นเนื่องจากผลกระทบจากการกัดเซาะตลิ่งของน้ำทะเล รวมทั้งบอกเล่าวิถีชีวิตชุมชนชายฝั่งทะเล
Roundtable
ในวงสนทนาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ชายฝั่งและอ่าวไทย ศ.ดร. สุชนา ชวนิชย์,
คุณกวินณภัสร์ มงคลเตชาพัฒน์, คุณเรวดี ประเสริฐเจริญสุข, คุณเกรียงศักดิ์ ฤกษ์งาม, และคุณบรรจง นะแส ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน
Artists Meet Experts
ไฮไลท์หลักของพาโนรามาครั้งนี้คือ ช่วงแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างวิทยากรและทีมผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในกิจกรรมนี้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมพูดคุยหาแนวทางการเล่าเรื่องประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภุมิอากาศและการเล่าเรื่องในภาพยนตร์
Climate Storytelling Workshop with Matthew Testa
ในเวิร์กช็อปของคุณแมทธิว เทสตา คุณแมทธิวแชร์ประสบการณ์การผลิตสารคดีเรื่อง THE HUMAN ELEMENT และมุมมองการผลิตภาพยนตร์
Project Pitching
กิจกรรมนำเสนอโปรเจกต์หนังสั้น เปิดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอโปรเจกต์พร้อมรับฟังฟีดแบกจากกรรมการที่ทำงานทั้งในสายภาพยนตร์และสิ่งแวดล้อม
Comments