top of page

Monday Movie Club: 'Goodbye, Earth': A Story for Grown-Ups

รูปภาพนักเขียน: Nakorn ChaisriNakorn Chaisri

อัปเดตเมื่อ 25 ก.ย. 2564

ในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา CCCL Film Festival แนะนำหนังขนาดยาวมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นหนังสารคดีที่อัดแน่นไปด้วยข้อมูลวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่าง Before the Flood ไปจนถึงหนังแอนิเมชั่นที่สะท้อนแนวคิดการล่มสลายของโลกจากระบบทุนนิยมเกินสมดุลอย่าง Wall-E วันนี้เราอยากเปลี่ยนแนวมาแนะนำหนังสั้นประเด็นโลกรวนกันบ้าง ต้องขอบอกว่าหนังสั้นเรื่องนี้สั้นจริง สั้นได้ใจเหลือเกิน เพราะทั้งเรื่องมีความยาวเพียงแค่ 2 นาทีกับ 7 วินาที หนังสั้นเรื่องนี้มีชื่อว่า ‘Goodbye, Earth’: A Story for Grown-Ups (โลกจ๋าลาก่อน: เรื่องราวสำหรับผู้ใหญ่)

‘Goodbye, Earth’: A Story for Grown-Ups เป็นหนังสั้นเล่าเรื่องของเด็กหนุ่มวัย 9 ขวบชื่อว่า เซน คาวี่ ที่กำลังอ่านบทกวีในหนังสือที่เขาเป็นคนเขียนขึ้นเองให้ผู้ใหญ่หลากวัยที่มีท่าทีเหมือนจะสนใจได้ฟัง แต่ละถ้อยกวีที่เซนอ่านนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นความจริงที่ว่า เรา ’ผู้ใหญ่’ ต่างเมินเฉยต่อวิกฤติโลกรวน ไร้ซึ่งจิตสำนึกในการช่วยเยียวยาโลกใบนี้เพื่อส่งต่อให้เยาวชนรุ่นถัดไปในอนาคต

“We’ve said our bit, now you get cracking. No more pipelines, no more fracking. We may be kids, but we are pissed. We’re fighting now just to exist. (พวกเราได้พูดไปแล้ว ผู้ใหญ่อย่างคุณจะว่าไงล่ะ เลิกทำท่อน้ำมันซะทีเหอะ เลิกขุดเจาะน้ำมัน ถึงเราจะเป็นเด็ก แต่เราโคตรโกรธเลย เรากำลังต่อสู้เพื่อแค่ให้เราอยู่รอดเท่านั้นเอง)”

คำพูดของเซนที่อ่านจากบทกวีของเขา ถูกร้อยเรียงด้วยภาษาที่แสนเรียบง่ายแต่เต็มไปด้วยความจริงใจและความเกรี้ยวกราดที่มีต่อผู้ใหญ่อย่างเรา แต่ละประโยคที่เปล่งออกมาจากเด็กหนุ่มคนนี้ ทำให้ผู้ใหญ่อย่างเรารู้สึกเหมือนถูกตบหน้าเข้าอย่างรุนแรงและพร้อมที่จะหงายท้องไปตามๆ กัน สิ่งที่เซนอธิบายในหนังและในหนังสือของเขาเป็นการตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมาต่อผู้ใหญ่ว่า เมื่อไหร่เราถึงจะหันมาใส่ใจโลกกันอย่างจริงจังเสียที เพราะถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อรับมือกับวิกฤติโลกรวนในอนาคตอันใกล้ เราก็เตรียมบอกลาโลกใบนี้ได้เลย

รับชมหนังสั้นเรื่องนี้ได้ที่ YouTube ของ The New York Times ด้านล่าง (หนังไม่มีซับไทย แต่สามารถอ่านบทแปลได้ด้านล่างบทความ)


นอกจากนี้ หากใครดูหนังจบแล้ว อยากอ่านหนังสือที่น้องเซน คาวี่เขียน สามารถตามไปอ่านได้แบบฟรีๆ ที่ https://int.nyt.com/.../fc6ebe2bb70412.../optimized/full.pdf

คัดสรรและเรียบเรียงโดย นคร ไชยศรี

Chief Program Designer

Comments


bottom of page