top of page

โลกร้อนส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร

info657469


หลายๆ คน เมื่อได้ยินคำว่า “โลกร้อน” มักนึกถึงน้ำแข็งละลายและหมีขั้วโลก และอาจคิดว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ไกลตัว วันนี้ CCCL จะมาเล่าให้ทุกคนฟังว่าผลกระทบของสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไม่ได้ไกลตัวอย่างที่ทุกคนคิด


สถาบัน McKinsey Global Institute รายงานว่าภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้จะได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหนักที่สุด


ภายในปี 2050 ผลผลิตทางเกษตรและการประมงซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศไทยจะลดลง เนื่องจากระยะเวลาทำการแจ้งอย่างมีประสิทธิผลที่น้อยลงและผลกระทบอื่นๆ ต่อทรัพยากรทางธรรมชาติเพราะอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้เหมือนเป็นโดมิโน่ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ และทรัพย์สิน


ประเทศที่มีความยากจนอยู่แล้วรวมถึงประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยจะได้รับผลกระทบหนักมากกว่าประเทศอื่นๆ เนื่องจากประชากรในประเทศเหล่านี้มีรายได้หลักจากการงานกลางแจ้งและพึ่งพาทรัพยากรทางธรรมชาติมากกว่า และอาจมีวิธีในการปรับตัวทางด้านการเงินน้อยกว่าประเทศอื่นๆ


วันนี้ CCCL จะมาเล่าให้ทุกคนฟังว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทางด้านไหนได้บ้าง


ความเป็นอยู่และระยะการทำงาน


เมื่อต้นปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐและแคนาดาได้เผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรง โดยในรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา มีการคาดการว่ายอดผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนนั้นพุ่งสูงไปมากกว่า 500 ราย ในวันที่ 29 มิ.ย. เมืองลิตตันในรัฐเดียวกันได้บันทึกอุณหภูมิสูงสุดถึง 49.6 องศาเซลเซียส


อุณหภูมิที่สูงขึ้นมีผลต่อคนไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนรายได้น้อยรับผลกระทบที่หนักกว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เช่น การเกษตร ก่อสร้าง และพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติมากกว่ากลุ่มอื่น ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ง่ายขึ้น และเสี่ยงต่อโรคลมร้อน (Heat stroke) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต นอกจากนี้ ระยะการทำงานที่น้อยลงยังมีผลกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่อีกด้วย


แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม:



โรคภัยไข้เจ็บ


อุณหภูมิที่สูงขึ้นนอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคลมร้อนแล้ว ยังทำให้ฤดูร้อนซึ่งเป็นฤดูแพร่เชื้อของต่างๆ มีระยะเวลายาวนานขึ้น ส่งผลให้โรคต่างๆ เช่น อหิวาตกโรค โรคอาหารเป็นพิษ โรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออกระบาดมากขึ้น


งานวิจัยได้คาดการว่าถ้าหากก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังถูกปล่อยอยู่เรื่อยๆ ประชากรกว่า 8 พันล้านคนจะเสี่ยงต่อโรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดภายในปี ค.ศ. 2080


มากไปกว่านั้น การหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดและมาลาเรียในขณะยังทำด้วยการจำกัดประชากรยุงเสียส่วนใหญ่ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะในชุมชนแออัดและชุมชนรายได้ต่ำที่เข้าถึงทรัพยกรและความช่วยเหลือทางการแพทย์ได้อย่างจำกัด ทำให้ประชากรกลุ่มรายได้น้อยพบกับความเสี่ยงที่สูงกว่า


แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม:



ทรัพยากรธรรมชาติและอาหาร


อย่างที่เราทราบดีกันอยู่แล้วว่าการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อธารน้ำแข็งและระบบนิเวศทางทะเล ทำให้ผลผลิตอาหารทะเลน้อยลง ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ ความมั่นคงทางอาหาร และเศรษฐกิจ


รูปแบบฝนที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ผลผลิตอาหารทั้งทางเกษตรและทะเลลดน้อยลงและความมั่นคงทางอาหารตกอยู่ในความเสี่ยง


ตัวอย่างที่สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้สามารถเห็นได้จากเหตุการณ์คลื่นความร้อนเมื่อปลายเดือนมิถุนายนทางฝั่งตะวันตกของประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา โดยนักชีววิทยาทางทะเลจากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียได้คาดการณ์ว่าสัตว์ทะเลกว่าพันล้านชีวิตตายเพราะคลื่นความร้อนนี้ หอยแมลงภู่ซึ่งสามารถทนความร้อนได้สูงกลับถูกทำให้สุกโดยน้ำทะเลที่ร้อนผิดปกติทำให้มีกลิ่นเน่าเหม็นไปทั่ว


การตายเฉียบพลันของหอยต่างๆ และปลาดาวมีผลกระทบต่อความสะอาดของน้ำทะเลเนื่องจากหอยทำหน้าที่เป็นเครื่องกรองน้ำให้กับมหาสมุทร ให้น้ำทะเลใส่พอที่แสงจะส่องถึงพืชต่างใต้ทะเลที่เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและอาหารให้กับสัตว์ทะเลชนิดอื่นๆ ได้


แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม:



เศรษฐกิจ การเกษตร และการประมง


การเกษตรและการประมงจะรับความเสี่ยงสูง เนื่องจากชั่วโมงทำงานที่ลดลงเพราะความร้อนและความชื้น และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่งผลให้ผลิตผลทางเกษตรและประมงลดลง หรือให้ผลิตผลที่ไม่แน่นอน มากไปกว่านั้น การปรับตัวเพื่อรับมือกลับความเปลี่ยนทำได้ยากเนื่องจากต้องใช้เงินสูงและเข้าถึงได้ยาก


รายได้ที่น้อยลงและผลผลิตที่ขาดแคลนก็ย่อมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น ในขณะที่ประชากรมีกำลังในการใช้จ่ายต่ำลง




ทรัพย์สินและการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน


การแปรปรวนของสภาพอากาศทำให้ความรุนแรงของภัยพิบัติอย่างเช่น น้ำหลาก น้ำท่วม พายุ เพิ่มมากขึ้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ป่ามีความแห้งแล้งมากกว่าเดิมซึ่งทำให้เกิดไฟป่าได้ง่าย และมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งภัยธรรมชาติเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพย์สิน และที่อยู่อาศัยได้


บทความเกี่ยวข้อง:

ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์จากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลแบบสภาวะสุดขีดใน 7 เมืองของเอเชียภายในปี พ.ศ.2573 : ข้อค้นพบหลัก


รูปภาพจาก Krit Phromsakla Na SAKOLNAKORN / THAI NEWS PIX / AFP


วันนี้ CCCL ได้เล่าให้ทุกคนฟังว่าสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทางด้านไหนบ้างไปแล้ว อาทิตย์หน้าเราจะมาเล่าให้ฟังถึงแนวทางรับมือในอาทิตย์ต่อไป อย่าลืมติดตามกันนะคะ




อ้างอิงจาก

https://climate.nasa.gov/effects/





Commentaires


bottom of page