top of page
info657469

เรารู้ได้อย่างไรว่าสภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนแปลง



สภาพภูมิอากาศของโลกนั้นเปลี่ยนแปลงตามเวลา ในระยะเวลา 650,000 ปีที่ผ่านมา โลกได้ผ่านยุคที่มีการขยายและละลายของธารน้ำแข็ง (Glacial-interglacial Period) ถึง 7 ครั้ง โดยยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุดสิ้นสุดลงเมื่อ 11,700 ปีที่แล้ว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเช่นนี้เกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ปริมาณแสงอาทิตย์ที่โลกได้รับเปลี่ยนไป

แต่ทว่าการที่อุณหภูมิของโลกที่กำลังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราที่ไม่เคยพบเจอมาก่อนนั้นมีความเป็นไปได้สูงว่าเกิดจากฝีมือมนุษย์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 20

วันนี้ CCCL จะมาเล่าให้ทุกคนฟังว่าธรรมชาติกำลังส่งสัญญาณว่าสภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันให้กับเราอย่างไร



อุณหภูมิโลกสูงขึ้น

อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้น 1.18 องศาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ตอนปลาย การเปลี่ยนแปลงนี้ส่วนใหญ่มาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นและกิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์


รูปภาพจาก https://www.bangkokpost.com/life/social-and-lifestyle/1661784/Some-dont-like-it-hot




แผ่นน้ำแข็งเล็กลงและธารน้ำแข็งละลาย

การทดลองของนาซ่าพบว่าตั้งแต่ ค.ศ. 1993 ถึง 2019 โดยเฉลี่ย กรีนแลนสูงเสียน้ำแข็งไปมากกว่า 253 ล้านตันต่อปี และแอนตาร์กติกาสูญเสียน้ำแข็งไป 134 ล้านตันต่อปี ทะเลน้ำแข็งแถบอาร์กติกก็เล็กลงเช่นกัน มากไปกว่านั้น ธารน้ำแข็งทั่วโลกกำลังละลาย




ภัยพิบัติรุนแรง

ภาวะสภาพอากาศแปรปรวนส่งผลให้พายุมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป บางพื้นพบกับฝนตกและพายุที่หนักและมีความถี่มากขึ้น นอกจากนั้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไฟป่าเพราะป่าอีกด้วย




มหาสมุทรอุ่นขึ้น

โลกกักเก็บพลังงานส่วนเกินกว่า 90% ในมหาสมุทร เมื่ออุณหภูมิของโลกสูงขึ้น มหาสมุทรก็ดูดซับความร้อนมากขึ้น งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผิวน้ำทะเล 100 เมตรอุ่นขึ้น 0.33 เซลเซียสตั้งแต่พี่ ค.ศ. 1969

จุดบ่งชี้ที่ชัดเจนของอุณหภูมิที่สูงคือปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว โดยรวมแล้วในประเทศไทยมีปะการังที่ยังมีชีวิตอยู่เหลือเพียง 23% เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวได้ที่

https://ngthai.com/science/26012/coral-bleaching/



การเพิ่มขึ้นของระดับของน้ำทะเล

อุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งละลายและน้ำทะเลอุ่นและขยายตัว ในศตวรรษที่ผ่านมาน้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้นกว่า 20 ซม. โดยอัตราการเพิ่มของระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเรื่อยๆ เราสามารถเห็นได้จากการกัดเซาะชายฝั่งตามจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย



มหาสมุทรมีความเป็นกรดมากขึ้น

ธรรมชาติมีกลไกในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศ ซึ่งแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญก็คือมหาสมุทรนั่นเอง การดูดซับคาร์บอนมีผลต่อความเป็นกรดและด่างของน้ำในมหาสมุทร

โดยธรรมชาติแล้วการเปลี่ยนของความเป็นกรดนี้จะช้า ทำให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ มีเวลาปรับตัว ทว่าตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมมนุษย์อย่างมหาศาลทำให้มหาสมุทรดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ทำให้ความเป็นกรดของน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นถึง 28%

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะมหาสมุทรเป็นกรดได้ที่ https://ngthai.com/science/25965/ocean-acidification/


อาทิตย์หน้า CCCL จะมาเล่าให้ฟังถึงผลกระทบสภาพอากาศแปรปรวนต่อประเทศไทย และแนวทางรับมือในอาทิตย์ต่อไป อย่าลืมติดตามกันนะคะ


อ้างอิงจาก



Comments


bottom of page