CCCL PANORAMA:
Mekong
CCCL Film Festival ร่วมกับ สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมภายใต้ธีมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ได้รับคัดเลือกจะมีได้เรียนรู้ปัญหาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) จากวิทยากรท้องถิ่น และได้เรียนรู้การสร้างสรรค์งานภาพยนตร์จากบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยและอเมริกา รวมทั้งยังมีโอกาสนำเสนอโปรเจกต์หนังสั้นความยาวไม่เกิน 15 นาที ชิงทุนสนับสนุนผลิตภาพยนตร์จำนวน 20,000 บาท ในระหว่างวันที่ 10-11 ธันวาคม ที่ จ.อุบลราชธานี
PANORAMA PROGRAMS
FILM SCREENING: FOOD EVOLUTION
ฉายสารคดีเรื่อง FOOD EVOLUTION
พร้อมสนทนากับผู้กำกับภาพยนตร์ Scott Hamilton Kennedy ผ่านทาง Zoom
เกี่ยวกับภาพยนตร์
จากผู้กำกับที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สกอตต์ แฮมิลตัน เคนเนดี้ สารคดี FOOD EVOLUTION นำเสนอมุมมองของกลุ่มคน 2 ฝ่ายที่เห็นด้วยและต่อต้านเทคโนโลยีและผลผลิตที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรม (GMO) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ครั้งหนึ่งเคยช่วยเกษตรกรฟาร์มมะละกอในฮาวายให้รอดพ้นจากโรคระบาดในพืช ถึงอย่างนั้นข้อกังวลถึงผลกระทบระยะยาวของเทคโนโลยี GMO ยังคงเป็นที่กังขาของผู้คนในวงกว้าง การโต้เถียงของกลุ่มคนหลากหลายกลุ่มนำมาซึ่งความกลัว ความสับสน และความขัดแย้งทางสังคม
เกี่ยวกับผู้กำกับ
สก็อต แฮมิลตัน เคนเนดีเป็นนักเขียน ผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ ตากล้อง บรรณาธิการ และผู้ก่อตั้ง Black Valley Films ผลงานสารคดีของเขาอาทิเช่น THE GARDEN เคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์, OT: OUR TOWN ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัล Independent Spirit Award, FAME HIGH, และ FOOD EVOLUTION เป็นต้น ขณะนี้สก็อตกำลังพัฒนาสารคดีเรื่องล่าสุด SHOT IN THE ARM ที่พูดถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19
ROUNDTABLE: เสวนาประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง
ผู้ร่วมเสวนา: อ.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, อ.กนกวรรณ มะโนรมย์, และ คุณอ้อมบุญ ทิพย์สุนา
ดำเนินรายการโดย: คุณบุษกร สุริยสาร
เกี่ยวกับวิทยากร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ.ไชยณรงค์ยังเป็นผู้ก่อตั้งงานวิจัยไทบ้านและมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหลายบทความ อ.ไชยณรงค์มีประสบการณ์ในการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและลุ่มน้ำโขงมากกว่า 30 ปี
เกี่ยวกับวิทยากร
รองศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และยังเป็นประธานศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคกลุ่มน้ําโขงคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาโปรแกรม Explore ภายใต้โครงการวิจัยดด้านธรรมาภิบาลภูมิทัศน์ป่าไม้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Forest Landscape Governance Research Network) ดําเนินการโดย RECOFTH, Thailand
เกี่ยวกับวิทยากร
คุณอ้อมบุญ ทิพย์สุนาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คุณอ้อมบุญมีประสบการณ์ตรง 30 ปี ในการทำงานพัฒนาชนบท และงานศึกษาวิจัยในด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยใช้กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม การจัดระบบข้อมูลข่าวสารการพัฒนา การพัฒนาความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม องค์กรชุมชน ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำโขง และส่งเสริมเครือข่ายเยาวชนคนรักษ์แม่น้ำโขง 7 จังหวัดในการจัดทำค่ายเยาวชน จัดทำสื่อรณรงค์รักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อเผยแพร่ในโลกออนไลน์ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ
MASTERCLASS I: การกำกับและพัฒนาไอเดียสู่ภาพยนตร์
วิทยากร: อ.ไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์
เกี่ยวกับวิทยากร
ไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์ เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ และศิลปินภาพเคลื่อนไหว ที่ผลงานส่วนใหญ่มุ่งสำรวจประเด็นความขัดแย้งของสังคมการเมืองไทยร่วมสมัย โดยเล่นกับโสตสัมผัสของผู้ชม ผ่านองค์ประกอบของงานด้านภาพและเสียงที่เข้มข้น แม่นยำ และหลากหลาย ผลงานหลายเรื่องของไทกิ ทั้งภาพยนตร์สั้นและวิดีโออาร์ตแนวทดลอง ได้รับการคัดเลือกให้เข้าฉายที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ รวมทั้งจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ศิลปะมาแล้วหลายแห่งทั่วโลก ภาพยนตร์ขนาดยาวของไทกิเรื่องพญาโศกพิโยคค่ำ (THE EDGE OF DAYBREAK) ได้รับรางวัล FIPRESCI จากสมาพันธ์นักวิจารณ์นานาชาติที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติรอตเตอร์ดาม โดยกรรมการกล่าวว่า “พญาโศกพิโยคค่ำ มีบรรยากาศลึกลับ พร้อมด้วยงานด้านภาพอันวิจิตรที่แสดงถึงความเจ็บปวดและความรุนแรง รวมไปถึงสามารถถ่ายทอดความวุ่นวายทางการเมืองตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ด้วยศิลปะภาพยนตร์อันทรงพลังและเปี่ยมด้วยมนต์สะกด นอกจากนี้ พญาโศกพิโยคค่ำ ยังแสดงให้เห็นถึงการประนีประนอมกับอดีต เพื่อพร้อมเผชิญหน้ากับปัจจุบัน อนาคต”
MASTERCLASS II: การวางแผนการผลิตภาพยนตร์
วิทยากร: เดวิด คลัคก์
เกี่ยวกับวิทยากร
เดวิด คลัคก์ เป็นคนทำหนังชาวอเมริกันที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 28 ปี ในฐานะผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์และโปรดิวเซอร์ ผลงานที่เขาเคยมีส่วนร่วมอาทิเช่น THE ARTIST ซึ่งได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากออสการ์, MONSTERS นำแสดงโดยนักแสดงรางวัล ชาร์ลิซ เธอรอน, และ THE MERRY GENTLEMAN ซึ่งเป็นผลงานการกับภาพยนตร์เรื่องแรกของไมเคิล คีตัน
PITCHING FORUM
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละทีมจะมีเวลา 5-7 นาทีในการนำเสนอโปรเจกต์หนังสั้นต่อคณะกรรมการ หลังจากนำเสนอเสร็จ กรรมการจะมีเวลาถามคำถามผู้เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 5 นาที โปรเจกต์ที่นำเสนอได้น่าสนใจมากที่สุดจะได้รับทุนสนับสนุนผลิตภาพยนตร์จำนวน 20,000 บาท
SELECTED PATICIPANTS
ณัฏฐ์ บุญเลิศ
WHERE IS THE KING OF NAKAS
มงกุฎเพชร หารชนะ
อัญมณีแม่น้ำโขง
ภพวรัท มาประสพ
อนุสรณ์ของสายน้ำ
เกตน์สิรี ทศพลไพศาล
THE TRUTH BEHIND CLIMATE MIGRATION
พีรพล ธงภักดิ์
สมบัติแม่
เสฎฐวุฒิ อินบุญ
ข้าวโพดกับฉัน
ปฏิภาณ บุณฑริก
แม่โขง - นฤมิต (MULTIVERSE OF MEKONG) aka.จดหมายจากปลายน้ำ
ชนม์ชนก ธนัสทีปต์วงษ์
แจกัน
จักรพันธ์ ศรีวิชัย
MEANDERING
กิตติคุณ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
ไคร้เจ้าอยู่ไส
ธนวัฒน์ ตาลสุข
แม่น้ำโขง: สิ่งแวดล้อมไร้พรมแดนที่ไม่เคยหยุดนิ่ง
ฐานิยา ไทรคำ
อมุตโศก
สนับสนุนโดย