top of page
CCCLFT2024-UDON-BG.png

24 สิงหาคม 2567

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

โปรแกรมหนังสั้น

FOUNT_02_1920x1080.png

FOUNT (BULAK)

Evrim İnci

วาลิดและครอบครัวของเขามีชีวิตที่ยากลำบากในโซมาเลีย พวกเขาจึงอพยพไปยังตุรกี ณ เมืองบูร์ดูร์ ซึ่งก็กำลังเผชิญกับวิกฤตความแห้งแล้งไม่ต่างจากที่โซมาเลีย

CONCEIVING-OUR-FUTURE_Key-Still_hi-res.jpg

CONCEIVING OUR FUTURE

Annie Pancak Vogt

สารคดีถ่ายทอดมุมมองของคู่หนุ่มสาวชาวไร่ อิซาเบลล่าและเจ็ม ที่ตัดสินใจไม่มีลูก เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะที่ฝั่งพ่อแม่ของพวกเขา ก็พยายามทำความเข้าใจกับเหตุผลและการตัดสินใจนี้

Lost in Mekong.png

LOST IN MEKONG

เจษฎา ขิมสุข

แม่น้ำโขง มีกรรมสิทธิ์บนผืนน้ำที่ชาวบ้านต่างยึดถือเสมือนกฎหมายของชุมชน ในการประกอบอาชีพประมงร่วมกัน และสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน จนกลายเป็นประเพณีเรียกว่า “ลวงมอง” แต่เมื่อแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลง วิถีแห่ง “ลวงมอง” ก็มาถึงจุดพลิกผัน ส่งผลกระทบต่อหลายชีวิต และบางครอบครัวราวกับถูกฉีกออกเป็นชิ้นๆ"

JOURNEY-OF-WISDOM_1.png

ผีตาแฮก สารพันวัฒนธรรมข้าวทุ่งกุลาร้องไห้ (JOURNEY OF WISDOM)

ธนวัฒน์ ตาลสุข

ความเชื่อและความศรัทธาในเรื่อง ‘‘ผีตาแฮก’’ ประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการปลูกข้าวของชาวบ้านกู่กาสิงห์ จังหวัดร้อยเอ็ด สะท้อนให้เห็นการเคารพบูชาผืนดิน ซึ่งสอดคล้องกับการดูแลรักษาธรรมชาติและระบบนิเวศที่ซับซ้อนของดิน การดูแลรักษา ‘ดิน’ คือหนึ่งหนทางในการปกป้องและซ่อมแซมดินที่เสื่อมโทรมจากภัยคุกคามต่างๆ เช่นเดียวกับพิธีการสักการะบูชา ‘ผีตาแฮก’ ที่ช่วยหล่อหลอมใจผู้คนให้มีความกตัญญูและสำนึกในบุญคุณต่อธรรมชาติ

SOUND-OF-THE-FIELD-01.png

เสียงกลางนา (SOUNDS OF THE FIELD)

ปภพ แสงคง

สารคดีบันทึกบทสนทนาระหว่างการทำนา ของชาวห้วยหูด อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์

WATSAKAN_02_1920x1080.png

ฝนแล้ง (WATSAKAN)

ประกาศิต สอดศรี

ผู้ใหญ่บ้านของชุมชนในจังหวัดยโสธรได้เผชิญกับปัญหาภัยแล้งในฤดูฝน และต่อสู้กับรัฐบาล เพื่อหาวิธีนำน้ำมาช่วยเหลือชาวบ้านทำนาแต่ไม่สำเร็จ พวกเขาจึงจุดบั้งไฟขอน้ำจากพยาแถน แต่กลับกลายเป็นว่าพวกเขาต้องมาแก้ปัญหาจาก "ไฟ" ที่ตกลงมาจากฟ้า

THE WHOPPER_1920x1080.png

THE WHOPPER (โกหกคำโต)

วีระพรรณ ถาวร

ไม่น่าเชื่อว่าในดินแดนมรดกโลก พื้นที่รอยต่ออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยภาครัฐ ผ่านกรมชลประทานมีโครงการจะทำเขื่อนอีก 7 แห่ง รอบๆพื้นที่ โดยมีคลองมะเดื่อ เนื้อที่เกือบ 2,000 ไร่ เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของการก่อสร้างเขื่อนในแดนมรดกโลกแห่งนี้ โดยคำพูดเดิม ว่าเพื่อสร้างพื้นที่จัดการน้ำ ให้มีความมั่นคง ยั่งยืน และ เกิดประโยชน์ต่อคนในประเทศ พวกเขาบอกว่าประเทศต้องการน้ำ แต่ทำลายผืนป่าที่กักเก็บน้ำ พวกเขาต้องการความมั่นคงจากทรัพยากรน้ำ แต่ไม่เคยหยุดทำลายระบบนิเวศป่าต้นน้ำ ในหลายที่ของประเทศ ชาวบ้านนับล้านได้รับผลกระทบจากเขื่อนมาต่อเนื่องยาวนาน พวกเขาไม่เพียงต่อสู้กับความยากลำบากที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น แต่ยังต้องต่อสู้กับคำโกหกที่ภาครัฐเคยให้ไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า ปีแล้วปีเล่าก็ไม่เคยแก้ปัญหาได้เลย และในตอนนี้ มันก็กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง จากพื้นที่เก่า สู่พื้นที่ใหม่ และใครจะต้านทานไหว หรือจะต้องยอมรับชะตากรรมเดิม.......อีกครั้ง

24 สิงหาคม

สถานที่จัดแสดง

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

64 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ถนนทหาร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000

bottom of page