top of page

เกี่ยวกับ CCCL

พันธกิจ

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน หรือ CCCL ก่อตั้งขึ้นโดยคริสโตเฟอร์ จี. มัวร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 เทศกาลฯ มุ่งหวังที่จะสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านภาพยนตร์สั้น เราสร้างพื้นที่ให้ผู้สร้างภาพยนตร์ ศิลปิน และชุมชนในประเทศไทยและเอเชีย บอกเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความท้าทายระดับโลกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

CCCL เป็นเทศกาลภาพยนตร์แห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มุ่งเน้นไปที่ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการนำเสนอเรื่องราวของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต เรื่องราวการปรับตัว  แรงผลักดัน และนวัตกรรมในการรับมือต่อวิกฤตครั้งสำคัญ นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา CCCL ได้จัดงานประกวดภาพยนตร์สั้นและเทศกาลภาพยนตร์ประจำปีขึ้น 4 ครั้ง ฉายภาพยนตร์สั้นกว่า 120 เรื่อง คัดสรรจากผลงานที่ส่งเข้าประกวดกว่า 1,000 เรื่องทั่วเอเชีย นอกจากนี้ CCCL ยังมอบทุนสนับสนุนผลิตภาพยนตร์สั้นให้แก่ผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างน้อยปีละ 10 เรื่อง และยังดำเนินการฝึกอบรมด้านภาพยนตร์และให้คำแนะนำคนทำหนังอีกด้วย เราภูมิใจที่ภาพยนตร์ของคนทำหนังที่เข้าร่วมโครงการของ CCCL หลายเรื่องได้เข้าฉายและได้รับรางวัลในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ และได้เห็นคนทำหนังเหล่านั้นกลายเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่ผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นใหม่ต่อไป

CCCL เชื่อมั่นในความสร้างสรรค์ของเยาวชนและพลังของการเล่าเรื่อง หัวใจสำคัญของภารกิจ CCCL คือสนับสนุนนักสร้างภาพยนตร์รุ่นใหม่ทั้งชาวไทยและเอเชีย และส่งเสริมให้พวกเขากลายเป็นนักเล่าเรื่องที่สามารถสร้างผลงานคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เรามุ่งมั่นที่จะดำเนินขยายโครงการผ่านการร่วมมือกับเครือข่ายและองค์กรต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมสนับสนุนศิลปินและองค์ความรู้ในเรื่องวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในชุมชนต่างๆ

573A19219.webp
573A1420.jpeg

4

เทศกาลหนังสั้น

3 เทศกาลออนไลน์

 

 

1000+

หนังสั้นส่งเข้าประกวด

 

120+

หนังสั้นจากกว่า 20 ประเทศทั่วโลกถูกคัดเลือกฉายในเทศกาล

573A1420.jpeg
573A1420.jpeg
DSC_0750.webp

64

ทุนสนับสนุนผลิตหนังสั้น รวมมูลค่ากว่า 1.65 ล้านบาท 

 

 

38

คนทำหนังเข้าร่วมการอบรบจากผู้เชี่ยวชาญทางภาพยนตร์และสิ่งแวดล้อม

573A1420.jpeg

18

ศิลปินรุ่นเยาว์ที่ได้รับทุนสนับสนุนผลิตผลงานศิลปะ

 

 

39

กิจกรรมจัดฉายหนังสั้นผ่านความร่วมมือจากเครือข่ายชุมชน

 

18

หนังสั้นที่ CCCL สนับสนุน ได้รับคัดเลือกเข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ 

อาทิเช่น Jogja-NETPAC Asian Film Festival, Kaohsiung Film Festival, และ Yale Environment 360 Film Contest.

573A2099.webp

การดำเนินงาน

ก่อตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา CCCL

พฤศจิกายน 2562

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน (CCCL) ก่อตั้งโดยคุณคริสโตเฟอร์ จี มัวร์ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ประเด็นวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการสร้างสรรค์สื่อภาพยนตร์สั้น

CCCL สนับสนุนโปรเจกต์หนังสั้นจากคนทำหนังชาวไทยทั้งหมด 12 โปรเจกต์ในโครงการ CCCL Film Grants 2020

2563

CCCL ดำเนินการจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ ภายใต้มูลนิธิแสง

จัดการแข่งขันประกวดหนังสั้นเป็นครั้งแรก โดยมีหนังสั้นจากประเทศไทยส่งเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 167 เรื่อง

จัดเทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 1 ที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2563 จัดฉายหนังสั้นทั้งหมด 13 เรื่อง

2564

CCCL สนับสนุนโปรเจกต์หนังสั้นทั้งหมด 20 โปรเจกต์ในโครงการ CCCL Film Grants 2021

จัดกิจกรรมสนทนาออนไลน์เกี่ยวกับภาพยนตร์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

CCCL จัดฉายสารคดีรอบปฐมทัศน์ประเทศไทย เรื่อง I AM GRETA ในรูปแบบออนไลน์

CCCL จัดเวิร์กช็อปการเล่าเรื่องประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “CCCL Panorama” เป็นครั้งแรก โดยมีธีมของกิจกรรมคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง

ภาพยนตร์สั้นที่สนับสนุนโดย CCCL ได้รับรางวัลและได้รับการคัดเลือกฉายในเทศกาลภาพยนตร์อาทิเช่น Southeast Asia x Seattle Film & Literature Festival และ Handle Climate Change Film Festival

CCCL ริเริ่มโครงการ “ยุวทูต CCCL” สำหรับเยาวชนอายุน้อยกว่า 18 ปี

CCCL จัดฉายหนังสั้นจากเทศกาลภาพยนตร์ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 2-10 เมษายน 2565

2565

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 2 ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565 ณ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ จัดฉายหนังสั้นทั้งหมด 33 เรื่องซึ่งคัดเลือกจากหนังสั้นที่ส่งเข้าร่วมเทศกาลกว่า 350 เรื่อง และจัดนิทรรศการศิลปะจาก 9 ยุวทูต CCCL

CCCL สนับสนุนโปรเจกต์หนังสั้นทั้งหมด 10 โปรเจกต์ในโครงการ CCCL Film Grants 2022

CCCL ดำเนินการจัดกิจกรรม CCCL Film Tours ใน 3 จังหวัดได้แก่ จ.เชียงใหม่ จ.มหาสารคาม และจ.สงขลา สนับสนุนโดยกองทุนแคนาดา

จัดโครงการ ยุวทูต CCCL ปี 2565 พร้อมอบรมการสร้างสรรค์งานศิลปะสะท้อนวิกฤตโลกรวนแก่เยาวชน 9 คน

ร่วมมือจัดฉายหนังสั้นกับหน่วยงานท้องถิ่นในจังหวัด เชียงราย น่าน พะเยา อุดรธานี สงขลา และ ปัตตานี ระหว่างวันที่ 20-26 กุมภาพันธ์ 2566

2566

CCCL จัดเทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 3 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ สมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ จัดฉายหนังสั้น 38 เรื่องซึ่งคัดเลือกจากหนังสั้นที่ส่งเข้าร่วมเทศกาลกว่า 231 เรื่อง และจัดนิทรรศการศิลปะจาก 9 ยุวทูต CCCL

CCCL ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โครงการ American Film Showcase (AFS) และมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ จัดกิจกรรม CCCL Panorama ครั้งที่ 2 ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในพื้นที่ชายฝั่งและอ่าวไทย ระหว่างวันที่ 2-4 มิถุนายน 2566

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เปลี่ยนการดำเนินงานมาอยู่ภายใต้มูลนิธิต้นกล้ารักษ์โลก

CCCL สนับสนุนโปรเจกต์หนังสั้นจากคนทำหนังในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด 12 โปรเจกต์ในโครงการ CCCL Film Grants 2023

จัดเทศกาลหนังสั้นในรูปแบบออนไลน์สำหรับผู้ชมทั่วโลก ระหว่างวันที่ 1-5 มีนาคม 2566

ภาพยนตร์สั้นที่ได้รับการสนับสนุนจาก CCCL ได้รับคัดเลือกเข้าฉายในเทศกาลนานาชาติ อาทิเช่น Kaohsiung Film Festival (ไต้หวัน) และ Jogja-NETPAC Asian Film Festival (อินโดนีเซีย) อีกทั้งถูกฉายในกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ในชุมชนทั้งหมด 18 กิจกรรมทั่วประเทศไทยตลอดปี 2566

ร่วมมือจัดฉายหนังสั้นกับหน่วยงานท้องถิ่นในจังหวัด เชียงราย น่าน นครพนม อุดรธานี สงขลา และ ปัตตานี ระหว่างวันที่ 19-29 กุมภาพันธ์ 2567

2567

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ ที่กรุงเทพมหานคร จัดฉายภาพยนตร์สั้น 55 เรื่องและภาพยนตร์ยาว 3 เรื่องจากทั่วโลก โดยมีภาพยนตร์สั้น 38 เรื่องเข้าชิงรางวัลทั้งหมด 9 รางวัล

จัดเทศกาลหนังสั้นในรูปแบบออนไลน์สำหรับผู้ชมทั่วโลก ระหว่างวันที่ 1-10 มีนาคม 2567

คณะกรรมการที่ปรึกษา

CGM_Nov20_edited.jpg

คริสโตเฟอร์ จอร์จ มอร์

ผู้ก่อตั้งและประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา CCCL

CCCL เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของคุณคริสโตเฟอร์ อดีตอาจารย์สอนกฎหมายและนักประพันธ์ชาวแคนาดา คุณคริสโตเฟอร์อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 30 ปี และก่อตั้ง CCCL เพื่อสร้างพื้นที่และโอกาสสำหรับเยาวชนและสังคมไทย และเพื่อตอบแทนคุณให้เมืองไทยซึ่งเป็นบ้านหลังที่สอง

Hugo_Nov20.jpg

ฮิวโก้ จุลจักร จักรพงษ์

นักร้อง/นักประพันธ์เพลง

KB photo.jpg

แคทรีน บิมสัน

นักนิเวศวิทยาอนุรักษ์ และเจ้าหน้าที่ด้านน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ สำนักงานภูมิภาคเอเชีย IUCN

Annelie

อาเนอลี ลังเกอรัค

ผู้สื่อข่าว และประธานคนทีสอง สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย

Siwaat.png

ศาสตราจารย์ ดร. ศิวัช พงศ์เพียจันทร์

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Od_CCCL.jpg

ดร. บุษกร สุริยสาร

ผู้อำนวยการ มูลนิธิต้นกล้ารักษ์โลก และที่ปรึกษาอิสระ องค์การสหประชาชาติ ด้าน climate change และการบูรณาการมิติทางเพศและการมีส่วนร่วมทางสังคม

Duangrit Bunnag.jpeg

ดวงฤทธิ์ บุนนาค

สถาปนิค

Team Members

ทีมงาน

Od_CCCL.jpg

ดร. บุษกร สุริยสาร

Team Leader

มีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษาอิสระให้องค์การสหประชาชาติในภูมิภาคเอเชียมากกว่า 20 ปี ด้านการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิแรงงานสิทธิเด็ก และการปรึกษาทางอาชีพสำหรับเยาวชน มีความเชี่ยวชาญในออกแบบและพัฒนาเครื่องมือปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพขององค์กรและผู้ปฏิบัติการในโครงการด้านสังคม ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วมทางสังคมในงานด้าน climate change ดร. บุษกรได้รับปริญญาเอกด้านสื่อสารมวลชน และปริญญาโทภายใต้ทุน Fulbright ในสาขาโทรคมนาคม และสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา) จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา

PastedGraphic-1.png

Michael Herrin

Senior Advisor on External Relations

Enterprise Systems consultant, mostly retired, and a friend of CCCL.

Headshot - Nakorn Chaisri.png

นคร ไชยศรี

Program Designer

 

นครเป็นนักทำหนังอิสระ จบการศึกษาปริญญาโทจาก Mount Saint Mary’s University ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลงานของเขาได้แก่ ภาพยนตร์สั้น Goodbye (รางวัลวิจิตรมาตรา เทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 18) และ In The Wind (Finalist เทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 22) เขาเป็นหนึ่งในทีมคัดเลือกภาพยนตร์ของเทศกาลภาพยนตร์ AFI Fest, AFI Docs และเทศกาล Los Angeles Asian Pacific Film Festival นครเริ่มเป็นผู้ออกแบบโครงการให้ CCCL ตั้งแต่ปี 2564 

Thanawat Talsuk.jpg

ธนวัฒน์ ตาลสุข

Youth & Community Coordinator

ธนวัฒน์ เป็นนักวารสารศาสตร์ มีประสบการณ์ด้าน producing และ creative content เขาสนใจเรื่องราวของคนชายขอบและหลงรักการผจญภัยแดนต่าง ๆ ตัวอย่างผลงานของเขา เช่น ห่มปุ๋ย ขยะสร้างความคิด ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศในโครงการประกวดสารคดีสั้น 7hd New Ideas Contest ปี 2 เป็นต้น

bottom of page